แผนการวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของศูนย์การปรับปรุงพันธุ์อ้อยแห่งประเทศไทย

ระยะสั้น และระยะยาว

1.    แผนการวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร

เป้าประสงค์

1)   มีห้องปฏิบัติการวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการปรับปรุงพันธุ์อ้อยที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ

2)   ผลิตผลงานวิจัยด้านการปรับปรุงพันธุ์อ้อยที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร

3)   มีอ้อยสายพันธุ์ใหม่ที่ตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมอ้อย น้ำตาลทรายและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง

แผนการวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร ประกอบด้วยกิจกรรมการวิจัยทั้งหมด 12 โครงการ เป็นแผนวิจัยระยะสั้น จำนวน 6 โครงการ และเป็นแผนวิจัยระยะยาวจำนวน 6 โครงการ ซึ่งแผนการวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร มีรายละเอียดดังนี้

แผนวิจัยระยะสั้น (1-3 ปี) ประกอบด้วย

1)   วิจัยและพัฒนาระบบการเก็บและรักษาเชื้อพันธุกรรมอ้อย

2)   วิจัยและพัฒนาฐานข้อมูลลักษณะประจำพันธุ์อ้อย

3)   วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการตรวจสอบความถูกต้องของสายพันธุ์อ้อยเพื่อการปรับปรุงพันธุ์

4)   วิจัยและพัฒนาความแม่นยำในการตรวจสอบลักษณะลูกผสมที่ตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมอ้อย

5)   ศึกษาวิจัยเพื่อหาแนวทางการขยายฐานพันธุกรรมอ้อย

6)   วิจัยและพัฒนากระบวนการเพื่อลดระยะเวลาการปรับปรุงพันธุ์อ้อย

แผนวิจัยระยะยาว (4-6 ปี) ประกอบด้วย

1)   วิจัยและพัฒนาการใช้เทคโนโลยี DNA Marker เพื่อระบุพันธุกรรมอ้อยและการสร้างลูกผสม (GenoTyping)

2)    ศึกษาวิจัยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและเก็บรักษาเชื้อพันธุกรรมอ้อยในสภาพเยือกแข็ง (Cryopreservation)

3)    ศึกษาวิจัยด้านพันธุวิศวกรรม

4)   ศึกษาวิจัยเทคนิคชีวโมเลกุลเพื่อการตรวจสอบโรคอย่างถูกต้องแม่นยำ

5)   ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับจุลินทรีย์และชีวผลิตภัณฑ์เพื่อการควบคุมโรค

6)   ศึกษาวิจัยด้านชีวสารสนเทศ (Bioinformatics) เกี่ยวกับ DNA, RNA และโปรตีนที่เป็นประโยขน์ต่อการปรับปรุงพันธุ์อ้อย

2.    แผนการวิจัยเชิงระบบ

เป้าประสงค์

1) พัฒนาการวิจัยด้านอ้อยอย่างเป็นระบบและครบวงจรเพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมอ้อย น้ำตาลทรายและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง

2) มีระบบโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศและแอพพลิเคชั่นสนับสนุนการวิจัยเชิงระบบ

3) มีระบบการปรับปรุงพันธุ์อ้อยที่พึงประสงค์

แผนการวิจัยเชิงระบบ ประกอบด้วยกิจกรรมการวิจัย ทั้งหมด 12 โครงการ เป็นแผนวิจัยระยะสั้น จำนวน 7 โครงการ และเป็นแผนวิจัยระยะยาวจำนวน 5 โครงการ ซึ่งแผนการวิจัยเชิงระบบมีรายละเอียดดังนี้

แผนวิจัยระยะสั้น (1-3 ปี) ประกอบด้วย

1) ศึกษาวิจัยสภาพปัญหาและอุปสรรคในการผลิตอ้อยของเกษตรกรในแต่ละพื้นที่

2) ศึกษาวิจัยวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคการผลิตอ้อยของเกษตรกรเพื่อหาแนวทางแก้ไข

3) วิจัยและพัฒนาแอพพลิเคชั่น (Computer Application) ในแต่ละกิจกรรมของการปรับปรุงพันธุ์อ้อยและการผลิตอ้อย

4) ศึกษาวิจัยรูปแบบการขนส่งผลผลิตอ้อยเข้าสู่โรงงานน้ำตาลอย่างมีประสิทธิภาพ

5) ศึกษาวิจัยรูปแบบการเตรียมดินเพื่อลดขั้นตอนในการเตรียมดิน

6) ศึกษาวิจัยวิธีการและขั้นตอนการกำจัดวัชพืชที่เหมาะสม

7) ศึกษาวิจัยเพื่อประเมินผลผลงานวิจัยเพื่อกำหนดแผนงานวิจัยเชิงระบบ

แผนวิจัยระยะยาว (4-6 ปี) ประกอบด้วย

1) ศึกษาวิจัยต้นทุนการผลิตและแนวความคิดในการลดต้นทุนการผลิตอ้อยของเกษตรกรในแต่ละกลุ่ม

2) ศึกษาวิจัยระบบสนับสนุนการปรับปรุงพันธุ์และการผลิตอ้อยอย่างครบวงจร

3) ศึกษาวิจัยระบบโครงสร้างสารสนเทศและข้อมูลที่ใช้ในการผลิตอ้อย

4) ศึกษาวิจัยระบบการเก็บเกี่ยวอ้อยเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บเกี่ยวอ้อย

5) ศึกษาวิจัยรูปแบบวิธีการปลูกอ้อยเพื่อลดการใช้แรงงาน

3.    แผนวิจัยด้านการนำเสนอและเผยแพร่ผลงานวิจัย

เป้าประสงค์

1)   นักวิจัยด้านอ้อยสามารถเผยแพร่ผลงานวิจัยและพัฒนาในระดับชาติและระดับนานาชาติ

2)   มีการเผยแพร่ผลงานวิจัยด้านอ้อยที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งเกษตรกรและนักวิชาการ

แผนวิจัยด้านการนำเสนอและเผยแพร่ผลงานวิจัย ประกอบด้วยกิจกรรมวิจัยทั้งหมด 8 โครงการ เป็นแผนวิจัยระยะสั้น จำนวน 5 โครงการ และเป็นแผนวิจัยระยะยาวจำนวน 3 โครงการ ซึ่งแผนวิจัยด้านการนำเสนอและเผยแพร่ผลงานวิจัย มีรายละเอียดดังนี้ คือ

แผนวิจัยระยะสั้น (1-3 ปี) ประกอบด้วย

1)   จัดฝึกอบรมหลักการนำเสนอผลงานวิจัยในที่ประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ

2)   จัดฝึกอบรมการเขียนผลงานทางวิชาการเพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติและนานาชาติ

3)   จัดทำแผนงานการสนับสนุนนักวิจัยเพื่อผลิตและเผยแพร่ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ

4)   พัฒนาระบบฐานข้อมูลผลงานวิจัยและวารสารทางวิชาการด้านอ้อย

5) ศึกษาวิจัยรูปแบบการนำผลงานวิจัยเพื่อถ่ายทอดแก่เกษตรกรเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์

 

กรอง

 
 
copyright © 2015 Office of The Cane and Sugar Board | Thailand Sugarcane Breeding Center | ศูนย์การปรับปรุงพันธุ์อ้อยแห่งประเทศไทย